Chapter 5 E - Commerce




ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Business ) หมายถึง กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าว่าองค์กรเครือข่ายร่วม โดยเทคโนโลยีนี้จะใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านช่องทางโครงข่ายโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร อย่างไรก็ตาม E- Business อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตหรือเว็บเสมอไป เพียงแต่กระแสความนิยมของอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น จึงทำให้องค์กรต่าง ๆ นำ E- Business มาใช้ในช่องทางในการขยายขอบเขตของการดำเนินธุรกิจกันมากยิ่งขึ้น

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Commerce ) หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุก ๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้



กรอบการทำงาน ( E-Commerce Framework )




ส่วนที่ 1 การประยุกต์ใช้
  • การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
  • การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
  • การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
  • การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
  • รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
  • การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)

ส่วนที่ 2 โครงสร้างพื้นฐาน องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐานที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
  • ระบบเครือข่าย (Network)
  • ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
  • การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
  • การรักษาความปลอดภัย (Security)

ส่วนที่ 3 การสนับสนุน ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วนของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำ หรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้

  • การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
  • การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
  • กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
  • การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
  • การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion

ส่วนที่ 4 การจัดการ 
การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

The Dimensions of E-Commerce 




Business Model of E-Commerce
  • Brick and Mortar Organization
Old-economy organizations (corporations) that perform most of their business off-line ,selling physical product by means of physical agent.
  • Virtual Organization
Organization that conduct their business activities solely online.
  • Click and Mortar Organization
Organization that conduct some e-commerce activities , but do their primary business in the physical world.


ประเภทของ E-Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
  1. Business-to-Business (B2B)
  2. Business-to-Customer (B2C)
  3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
  4. Customer-to-Customer (C2C)
  5. Customer-to-Business (C2B)
  6. Mobile Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
  1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce
  2. Business-to-Employee (B2E)
  3. Government-to-Citizen (G2C)
  4. Collaborative Commerce (C-Commerce)
  5. Exchange-to-Exchange (E2E)
  6. E-Learning

E-Commerce Business Model ( แบบจำลองทางธุรกิจ ) 

หมายถึง วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ
  • ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก
  • ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
  • ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
  • ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
  • บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
  • ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
  • ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
  • ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity


ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์



ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี
  1. สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  2. สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
  3. ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
  4. ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
  5. ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
  6. สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
  7. ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
  8. ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
ข้อเสีย
  1. ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสทิ ธิภาพ
  2. ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
  3. ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
  4. ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
  5. การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน



Chapter 4 E - Business Strategy

Business Strategy




คือ กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้ แบบจำลองทางธุรกิจ เป็นจริงได้ ทำยังไงให้ การสร้าง มูลค่า นั้นเป็นจริงได้ แล้วทำยังไงที่จะส่ง มูลค่า นั้นให้กับลูกค้าได้ดีที่สุด และทำยังไงให้มันแตกต่าง การทำธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างธุรกิจออนไลน์ แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่าง
อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้จะพูดถึงตัวแบบขั้นตอนกลยุทธ์หลักในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 4 ขั้นตอนดังนี้
  1. Strategic evaluation : กลยุทธ์การประเมิน
  2. Strategic objectives : กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์
  3. Strategy definition : กลยุทธ์การกำหนดนิยาม
  4. Strategy implementation : กลยุทธ์การดำเนินงาน

กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ( E-Business Strategies )

กลยุทธ์ เป็นตัวกำหนดทิศทางและการดำเนินงาน ด้านต่างๆ ขององค์กร กลยุทธ์เป็นเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร ไม่เพียงแต่กลยุทธ์เท่านั้นที่สำคัญ แต่การวางแผนและการลงมือจำเป็นไม่แพ้กัน สรุปปัจจัยสำคัญของกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ได้ซึ่งก็คือ
  • ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในตลาดขณะนี้หรือไม่
  • กำหนดนิยามว่าจะไปถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างไร
  • กำหนดการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
  • เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพอื่ ที่จะได้เปรียบคู่ค้าในตลาด
  • จัดหาแผนงานระยะยาวเพื่อพัฒนาองค์กร

Different forms of organizational strategy

  • Business unit strategy คือกลยุทธ์ของหน่วยธุรกิจแต่ละอันออกมา 
  • Regional strategy คือการแบ่งโครงสร้างการจัดการออกเป็นภูมิภาค กลยุทธ์ของแต่ละภูมิภาคก็จะแตกต่างกัน 
  • Functional strategy คือบางองค์กรมีการแบ่งฝ่ายออกเป็นหลายๆ ฝ่าย เช่นฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี กลยุทธ์ของแต่ละฝ่ายก็จะแตกต่างกัน


Relationship between e-business strategy and other strategies


Corporate strategy 

คือภาพรวมขององค์กรทั้งหมด

E-Business Strategy

คือกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับ SCM strategy และ Marketing/CRM strategy

E-channel strategies

E-Channel ย่อมาจาก electronic channels คือ การสร้างช่องทางใหม่ในการกระจายสินค้า ทั้งจากลูกค้า และคู่ค้า โดยที่ช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถกำหนดวิธีการที่ใช้ทำงานร่วมกับช่องทางอื่นๆจากหลายช่องทางของกลยุทธ์ E-Business

multi-channel e-business strategy

กลยุทธ์หลายช่องทาง e - business เป็นการกำหนดวิธีการทางการตลาดที่แตกต่าง และ ช่องทางของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นจึงควรมีการบูรณาการ และ ทุกๆกลยุทธ์ควรจะสนับสนุนซึ่งกัน



Strategy process models for e-business

Strategy process models for e-business

Strategy Formulation 

  •  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและภัยคุกคาม โดยพิจารณาแง่ต่างๆ 
  •  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน 
  •  กำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กรเพื่อกำหนดให้แน่ชัดว่าองค์กรจะมีลักษณะใด มีหน้าที่บริการอะไร แก่ใคร โดยมีปรัชญาหรือค่านิยมหลักในการดำเนินการเช่นใด 
  • กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กรในระยะแผนกลยุทธ์ 
  • การวิเคราะห์และเลือกกำหนดกลยุทธ์ แนวทางพัฒนาองค์การ 

Strategic Implementation

  • การกำหนดเป้าหมายดำเนินงาน 
  • การวางแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องดำเนินการ 
  • การปรับปรุงพัฒนาองค์กร ทั้งด้านโครงสร้างระบบงาน ทรัพยากรบุคคล เป็นต้น 

Strategic Control and Evaluation

  • การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ 
  • การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์ 

ประเพณียี่เป็ง


ประเพณียี่เป็ง





            ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ “ ยี่ ” แปลว่า สอง และคำว่า “ เป็ง ” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึงหมายถึงประเพณี พระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง โดยในพงศาวดารโยนกและจามเทวีมีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิด อหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดีนานถึง 6 ปี จึงจะเดินทางกลับมายังบ้านเมืองเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึงวันที่จากบ้านจากเมืองไปจึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชาธูปเทียนลอย ลอยตามน้ำ เพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ

             ในงานบุญยี่เป็งยังมีการเทศน์มหาชาติผู้คนจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอารามและถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืน จะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุดเด่นของงานนี้อยู่ที่การปล่อย โคมลอย ขึ้นไปในท้องฟ้า โดยเชื่อกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่างที่ได้รับจากโคม จะส่งผลให้ ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง







                การจุดโคมลอยมี 2 แบบ คือแบบที่ใช้ปล่อยในประเพณียี่เปงจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น " วันดา " หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้นถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการทำกระทงขนาดใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็น ทานแก่คนยากจน ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ ในงาน บุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้วยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือนและถนนหนทางด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็ง แบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วย ประทีป (การจุดผางปะติ๊ด) เพื่อบูชาพระรัตนตรัยการจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตาม วัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสท้องฟ้าเพื่อเพื่อบูชาพระเกตุ แก้ว จุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

                 ความเชื่อการปล่อยว่าวไฟหรือโคมลอยนี้ ชาวบ้านมักมีความเชื่อกันว่า เพื่อให้ว่าวได้นำเอาเคราะห์ ร้ายภัยพิบัติต่างๆออก ไป จาก หมู่บ้าน ดังนั้นว่าวหรือโคมลอยที่ปล่อยขึ้นไปถ้าไปตกในบ้าน ใครบ้าน นั้นต้องจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เพื่อล้างเสนียด จัญไรทั้งปวงออกไป นอกจากนี้ ยังถือกันว่าเป็น การทำเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีกันใน หมู่บ้านอีกด้วย .



บรรยากาศประเพณียี่เป็ง ( ปล่อยโคม ) เชียงใหม่



Chapter 3 E- ENVIRONMENT

BUSINESS ENVIRONMENT ( สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ )



สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักได้แก่

1. สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ (Internal Environment) คือ สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึงการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนําไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน

2. สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ คือ คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค


สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
  •  ตลาด หรือลูกค้า (Market)
  •  ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
  •  คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
  •  สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค คือสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่
  • ด้านการเมืองและกฎหมาย 
  • เศรษฐกิจ
  • สังคม
  • เทคโนโลยี


การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ


  • S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
  • W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
  • O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
  • T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix





กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก ตัวอย่าง กรมธนารักษ์ มีจุดแข็ง คือ ความสามารถในการผลิตเหรียญ และมีโรงกษาปณ์ที่ทันสมัย มีโอกาส คือ สามารถหารายได้จากการผลิตเหรียญได้ ทั้งหมดสามารถนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในเชิงรุก คือ ยุทธศาสตร์การรับจ้างผลิตเหรียญทุกประเภททั้งในและต่างประเทศ


กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy) ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน ทั้งนี้เนื่องจากองค์การมีจุดแข็ง ขณะเดียวกันองค์การก็เจอกับสภาพแวดล้อมที่เป็นข้อจำกัดจากภายนอกที่องค์การควบคุมไม่ได้ แต่องค์การสามารถใช้จุดแข็งที่มีอยู่ในการป้องกันข้อจำกัดที่มาจากภายนอกได้ ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีจุดแข็ง คือ เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดโอกาสการศึกษาให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ ขณะเดียวกันมีข้อจำกัด คือ งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมีไม่เพียงพอที่จะสามารถจัดตั้งหน่วยงานของตนเองอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศได้ ทั้งหมดสามารถนำมากำหนดยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน คือ ยุทธศาสตร์การสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนในพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ


กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy) ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข ทั้งนี้เนื่องจากองค์การมีโอกาสที่จะนำแนวคิดหรือวิธีใหม่ ๆ มาใช้ในการแก้ไขจุดอ่อนที่องค์การมีอยู่ได้ ตัวอย่าง ระบบราชการมักมีจุดอ่อน คือ มีขั้นตอนการทำงานที่ยาว ใช้เวลามาก ขณะเดียวกันก็มีโอกาส คือ โอกาสของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ ทั้งหมดสามารถนำมากำหนดยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข คือ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการบริหารจัดการและในกระบวนการทำงานของราชการให้มากขึ้น


กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy) ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ ทั้งนี้เนื่องจากองค์การเผชิญกับทั้งจุดอ่อนและข้อจำกัดภายนอกที่องค์การไม่สามารถควบคุมได้ ตัวอย่าง ประเทศไทย จุดอ่อน คือ ต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ประกอบกับพบข้อจำกัด คือ ราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งหมดนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในเชิงรับ คือ ยุทธศาสตร์การรณรงค์ประหยัดพลังงานทั่วประเทศอย่างจริงจัง และยุทธศาสตร์การหาพลังงานทดแทนที่นำทรัพยากรธรรมชาติในประเทศที่มีอยู่มาใช้มากขึ้น





คำถามท้ายบทที่ 2

E - Commerce กับ E-Business เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

E - Commerce คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ

E - Business คือ การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของคู่ค้าและลูกค้าให้ตรงใจ รวดเร็ว ลดต้นทุนเพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการบริการ

E - Business จึงมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ E - Commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น ดังนั้น E - Commerce จึงเป็นส่วนหนึ่งของ E - Business


Business to Business (B2B) 

หมายถึง ผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ การค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าแต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต เป็นต้น

Business to Customer (B2C) 

หมายถึง คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น

Business to Business to Customer (B2B2C) 

หมายถึง ธุรกิจกับธุรกิจเพื่อผู้บริโภค เป็นแบบ e-commerce ที่เกิดขึ้นใหม่ที่รวมธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) และธุรกิจเพื่อผู้บริโภค (B2C) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์หรือการทำธุรกรรมการให้บริการ B2B2C เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันนั้นในทางทฤษฎีสร้างประโยชน์ร่วมกันให้บริการและช่องทางจัดส่งสินค้า

Customer to Customer (C2C) 

หมายถึง การติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น


Customer to Business (C2B) 

หมายถึง การที่ลูกค้าระบุตัวสินค้าหรือบริการเฉพาะเจาะจงลงไปแล้วตัวองค์กรเป็นตัวจัดหาสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า

Mobile Commerce 

หรือ M-Commerce หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม หรือการเงิน โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อ และขายสินค้า ต่างๆ การสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล์ สิ่งที่น่าสนใจ และเป็นจุดที่น่าศึกษา



Chapter 2 E - business infrastructure Part 2

[ Part 2 ]

Blog


บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง WEB (World Wide Web) +LOG (บันทึก) = BLOG คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ อาจจะมีเรื่องราวเฉพาะไปที่ ๆ เรื่องประเภทเดียว หรือบางทีก็หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เรื่องราวที่เขียนขึ้นมานาน


Internet Forum




คือ บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตสำหรับการแสดงความคิดเห็นหรืออภิปราย ทำให้เกิดชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) ซึ่งจะแยกหัวข้อการอภิปรายตามหัวข้อความสนใจเฉพาะกลุ่ม


Wiki




วิกิ หรือ วิกี้ คือ ลักษณะของเว็บไซด์แบบหนึ่งที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี่ยังสามารถหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน ระบบวิกิที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิกิพีเดีย


Instant Messaging




เมสเซนเจอร์ หรือ อินสแตนท์ เมสเซจจิง (Instant Messaging หรือ IM) คือระบบการส่งข้อความทันที ระหว่างสองคน หรือกลุ่มคนในเน็ตเวิร์กเดียวกัน เช่น การส่งข้อความผ่านทางอินเทอร์เน็ต


Folksonomy



หรือ ปัจเจกวิธาน คืออนุกรมวิธานที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง ซึ่งใช้ในการแบ่งหมวดหมู่และค้นคืน หน้าเว็บ รูปภาพตัวเชื่อมโยงเว็บ และ เนื้อหาบนเว็บอื่นๆ โดยใช้กินติดป้ายที่ไม่จำกัดข้อความ โดยปกติโฟล์กโซโนมีทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามอาจจะถูกนำไปใช้ในบริบทอื่นเช่นกัน กระบวนการการติดป้ายแบบโฟล์กโซโนมีเจตนาที่จะเพิ่มความง่ายในการค้นหา ค้นพบ และหาตำแหน่ง เมื่อเวลาผ่านไป โฟล์กโซโนมีที่พัฒนาขึ้นมาอย่างดีตามหลักการแล้วสามารถใช้เป็นรายการคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสร้างขึ้นมาโดยผู้ใช้อันดับแรก และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ใช้อันดับแรก เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดสองแห่งที่ใช้การติดป้ายแบบโฟล์กโซโนมีคือ ฟลิคเกอร์ และ del.icio.us อย่างไรก็ตามมีการชี้ประเด็นว่า ฟลิคเกอร์ ไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีของโฟล์กโซโนมี


TCP/IP




TCP/IP (Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol) เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลาย ทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้

Domain Names




คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่สามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ “ชื่อเว็บไซต์” คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Web Browser ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อโดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป

Chapter 2 E - business infrastructure Part 1


E-business infrastructure


หมายถึง การรวมกันของฮาร์ดแวร์ เช่น Server, Client ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย 


ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน E-business infrastructure components


  1. E-business service applications layer ชั้นของแอปฟลิเคชั่น คือ ชั้นของโปรแกรมต่าง ๆ จะเป็นการใช้แอปฟลิเคชั่น โดยไม่สนใจซอฟต์แวร์
  2. System Software layer การนำโปรแกรมที่มาใช้งานให้ประสบความสำเร็จในชั้นที่ 1 เป็นเรื่องของการจัดการซอฟต์แวร์
  3. Transport or Network layer เป็นชั้นที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น พวกโปรโตคอลต่าง ๆ ประสานงานกับเครื่องแม่ข่ายกับลูกข่าย
  4. Storage/Physical layer เป็นชั้นที่ใช้เก็บพวกข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิกส์ แรม ว่าเก็บข้อมูลไว้ในส่วนไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ใช้อะไรเก็บ
  5. Content and Data layer ชั้นนี้เกี่ยวข้องกับพวก อินเตอร์เน็ต เอ็กทราเน็ต อินทราเน็ต

Key management issues of e-business infrastructure

1. ประเภทของ E-business ที่เกี่ยวข้องกับแอปฟลิเคชั่่น เช่นก่ารจัดซื้อจัดจ้าง การรักษาความ
ปลอดภัยของการจัดซื้อ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
2. ใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อให้ถึงเป้าหมาย เช่น e-mail เป็นต้น
3. ทำอย่างไรเพื่อจะให้บริการต่างๆ มีประสิทธิภาพ
4. จะนำบริการนี้ไปติดตั้งไว้ที่ไหนอย่างไร เช่นเอาไปติดตั้งที่เครื่อง server เอง หรือ ใช้บริการบริษัทภายนอกองค์กร

Internet technology
Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client / Server

Intranet applications
อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management

Extranet applications
เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง

Firewalls
ถ้าแปลเป็นภาษาไทย จะหมายถึง กำแพงไฟ ซึ่งน่าจะหมายถึงการป้องกันการบุกรุก โดยการสร้างกำแพง อย่างไรก็ตาม ความหมายของ Firewall สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ Firewall เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ Network หรือระบบเครือข่าย การป้องกันโดยใช้ระบบ Firewall นี้จะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการเข้า-ออก หรือการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบเครือข่าย นั่นเอง

Web technology
World Wide Web หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Web คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language) และเป็นการบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้พัฒนาเว็บ


Web browsers and servers

  • เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
  • เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ความหมาย คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์

Internet - access software applications




  •  Web 1.0 

ย้อนไปตอน Internet เพิ่งเริ่มมีการพัฒนาอย่างจริง ๆ จัง ๆ จะเริ่มหรือเคยเห็นมีเว็บไซต์หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของเว็บไซต์ก็จะเป็นการนำเอาข้อมูลที่ตัวเอง ต้องการนำเสนอไปทำในรูปแบบของ html หรือข้อมูลต่างๆที่เราเห็นอยู่นั่นแหละไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ หรืออินเตอร์เน็ต ส่วนผู้ใช้ก็มีหน้าที่ คือ กดเข้าไปอ่านส่วนเจ้าของก็คือมีหน้าที่คือ Update ข้อมูลเข้ามาทำกันไปกันมาแบบเดียว ซึ่งโดยสรุปเราอาจจะเรียกวิธีการแบบนี้ว่าเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว หรือเรียกว่า One Way Communication ก็ได้



  • Web 2.0 
จาก WEB 1.0 ต่อมาเว็บไต์ก็เริ่มมีการพัฒนา พวก Web Board , Blog , มีการนำภาพมาแชร์ นำ วีดีโอ มา Post มีการแชร์ แบ่งปัน แลกเปลี่ยน พูดคุย ถกเถียงกัน นินทา ประจาน ใส่ร้ายก็มี ทั้งจากเจ้าของเว็บไซต์เอง หรือจากคนที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์กันเองเรียกว่า ผู้ใช้กลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ข้อมูล หรือ Content ในเว็บไซต์นั้นมีการ Update และพัฒนา ปรับปรุง อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เว็บไซต์มีรูปแบบของการสื่อสารเป็นแบบสองทาง หรือ Two Way Communication ซึ่งพอมาถึงจุดนี้ทำให้ อินเตอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากกกก ลองดูข้อมูลที่ผมได้มา จากภาพก็พอจะเข้าใจว่าเกิดไรขึ้นบ้างในช่วงเวลาไม่กี่ปีของการพัฒนาจาก WEB 1.0 มาเป็น WEB 2.0


  • Web 3.0 

จาก WEB 2.0 ก็เริ่มขยับก้าวเข้ามาสู่ช่วงของ WEB 3.0 สื่งที่คนพัฒนาเว็บกำลังพยายามทำกันต่อก็คือ แก้ไขปัญหาของข้อมูลหรือ Content ที่ไม่มีคุณภาพต่างๆ ที่ WEB 2.0 ได้สร้างขึ้น ซึ่งมีการขยายขนาดและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วทำให้ผู้ใช้ถึงจะสามารถเข้าถึง Content หรือสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ง่ายและตรงความต้องการมากที่สุด สะดวกที่สุด ก็เลยมีการพูดถึง 

Chapter 1 Introduction to E-Business and E-Commerce

ความแตกต่างระหว่าง E-Commerce กับ E-Business

E -commerce คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

E-business คือ การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ

สรุปคือ E -business มีความควบคุมการดำเนินธุรกิจที่กว้างกว่า E -commerce 







E - business

ที่เราได้ยินบ่อย ๆ อาทิ เช่น ๆ

BI = Business Intelligence : การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน




EC = E-Commerce : เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต





CRM = Customer Relationship Management : การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า





SCM = Supply Chain Management : การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค




ERP = Enterprise Resource Planning : กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต – ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน