Chapter 5 E - Commerce




ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Business ) หมายถึง กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าว่าองค์กรเครือข่ายร่วม โดยเทคโนโลยีนี้จะใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านช่องทางโครงข่ายโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร อย่างไรก็ตาม E- Business อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตหรือเว็บเสมอไป เพียงแต่กระแสความนิยมของอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น จึงทำให้องค์กรต่าง ๆ นำ E- Business มาใช้ในช่องทางในการขยายขอบเขตของการดำเนินธุรกิจกันมากยิ่งขึ้น

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Commerce ) หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุก ๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้



กรอบการทำงาน ( E-Commerce Framework )




ส่วนที่ 1 การประยุกต์ใช้
  • การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
  • การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
  • การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
  • การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
  • รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
  • การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)

ส่วนที่ 2 โครงสร้างพื้นฐาน องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐานที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
  • ระบบเครือข่าย (Network)
  • ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
  • การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
  • การรักษาความปลอดภัย (Security)

ส่วนที่ 3 การสนับสนุน ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วนของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำ หรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้

  • การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
  • การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
  • กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
  • การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
  • การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion

ส่วนที่ 4 การจัดการ 
การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

The Dimensions of E-Commerce 




Business Model of E-Commerce
  • Brick and Mortar Organization
Old-economy organizations (corporations) that perform most of their business off-line ,selling physical product by means of physical agent.
  • Virtual Organization
Organization that conduct their business activities solely online.
  • Click and Mortar Organization
Organization that conduct some e-commerce activities , but do their primary business in the physical world.


ประเภทของ E-Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
  1. Business-to-Business (B2B)
  2. Business-to-Customer (B2C)
  3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
  4. Customer-to-Customer (C2C)
  5. Customer-to-Business (C2B)
  6. Mobile Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
  1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce
  2. Business-to-Employee (B2E)
  3. Government-to-Citizen (G2C)
  4. Collaborative Commerce (C-Commerce)
  5. Exchange-to-Exchange (E2E)
  6. E-Learning

E-Commerce Business Model ( แบบจำลองทางธุรกิจ ) 

หมายถึง วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ
  • ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก
  • ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
  • ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
  • ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
  • บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
  • ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
  • ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
  • ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity


ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์



ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี
  1. สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  2. สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
  3. ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
  4. ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
  5. ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
  6. สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
  7. ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
  8. ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ
ข้อเสีย
  1. ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสทิ ธิภาพ
  2. ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
  3. ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
  4. ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
  5. การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น