Chapter 6 Supply Chain Management (Part 1)

การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management หรือ SCM) คือ การออกแบบและการจัดการเกี่ยวกับการไหล (flow) ของสินค้า (product) สารสนเทศ (information) และเงินทุน (fund) ทั่วทั้งโซ่อุปทาน (supply chain)

                 โซ่อุปทาน คือ เครือข่ายของผู้ที่เกีายวข้องกับการผลิต (producing) และการจัดส่ง (delivering) สินค้าที่แล้วเสร็จ (finished product) ไปให้ลูกค้าขั้นสุดท้าย (final customer)

Supply chain Stages

ห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วยหุ้นส่วนทางการค้าที่แตกต่างกันมากมายเราเรียกว่า ขั้นตอน (stage) ซึ่งประกอบด้วย
  1. ซัพพลายเออร์ (Suppliers) 
  2. ผู้ผลิต (Producers) 
  3. ผู้ขาย/ผู้กระจายสินค้า(Wholesalers / Distributors)
  4. ผู้ขายปลีก (Retailers) 
  5. ลูกค้า (Customer)
ทิศทางการไหล

SCM Activities

กิจกรรมของห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วย
  1. การประสานงาน (Coordination) ประสานการไหลของสินค้า การให้บริการและเงินทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน 
  2. การแบ่งปันสารสนเทศ (Information Sharing) แบ่งปันการพยากรณ์ ข้อมูลที่จุดขาย แคมเปญ ส่งเสริมการขายที่ได้วางแผนไว้และระดับสินค้าคงคลัง 
  3. การทำงานร่วมกัน (Collaboration) ต่อเชื่อมแผนการปฏิบัติงานและดำเนินการตัดสินใจทางธุรกิจร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว

The Bullwhip Effect

                 การกระเพื่อมไหวและการผิดเพี้ยนของสารสนเทศจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อมันเคลอนทื่ไปตามโซ่อุปทาน ทําให้แต่ละขั้นตอนของสายโซ่ต้องแบกรับสินค้าคงคลังที่เพิ่มมากขึ้น ยิ่งสายโซ่อุปทานยาวมากขึ้นเท่าใดโอกาสที่จะเกิด Bullwhip Effect ก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย การแบ่งปันสารสนเทศจากจุดขาย (point – of sale information) ระหว่างสมาชิกทั้งหมดอยู่ในโซ่อุปทาน สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับ Bullwhip Effect ได้



Value Chain ห่วงโซ่คุณค่า

                 Value Chain คือ ตัวแบบห่วงโซ่แห่งคุณค่า คิดค้นโดย Michael E. Porter เป็นตัวแบบที่มองว่า ธุรกิจเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กันเหมือนกับลูกโซ่ ซึ่งแต่ละกิจกรรมในกระบวนการธุรกิจ ตั้งแต่การนาเข้าวัตถุดิบ จนกระทั่งผลิตส่าเร็จกลายเป็นสินค้าส่าเร็จรูปจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ก่อนจะส่งมอบไปยังลูกค้า กิจกรรมในตัวแบบห่วงโซ่คุณค่าแบ่งเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนสามารถนาระบบสารสนเทศไปใช้สนับสนุนการทำงาน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น