ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชนแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization)
เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้ งเดิมที่ต้องการสร้างผลกําไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชํานาญในการทํางานของแต่ละแผนก/ฝ่ายซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้อาจไม่สามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดของผู้บริโภคเนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่ายต่างทํางานเป็นอิสระต่อกันไม่เกี่ยวกันระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)
ในระยะนี้ องค์กรจะเริ่มจัดตั้ งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาดเหมือนระยะแรก เช่น ฝ่ายจัดการวัตถุดิบมีหน้าที่จัดซื อ จัดสรร ควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่นๆ ฝ่ายการผลิตมีหน้าที่วางแผนการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิต และฝ่ายขายมีหน้าที่วางแผนการตลาดและขายสินค้า เป็นต้นระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)
ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทําให้มีการติดต่อประสานงานเชื่่อมโนงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้ น การทํางานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่ นอกจากนั นกิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรได้ด้วย ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่งระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)
ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสําคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยเข้าไปทํางานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทํางานเดียวกัน เพื’อควบคุมคุณภาพการผลิตวัตถุดิบ คุณลักษณะของวัตถุดิบและวิธีการผลิตวัตถุดิบในโรงงานของซัพพลายเออร์และในบางกรณีบริษัทผู้ผลิตอาจเปิดโอกาสซัพพลายเออร์เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อย เพื่อนําส่งวัตถุดิบให้กับริษัทได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุนการบริหารจัดการซัพพลายเชน พิจารณาความสามารถในการประสานระบบงานระหว่างองค์กร
ใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers (Supply-management interface capabilities)
2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า (Demand-management interface capabilities)
3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management capabilities)
ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน
1. ปัญหาจากการพยากรณ์2. ปัญหาในกระบวนการผลิต
3. ปัญหาด้านคุณภาพ
4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า
5. ปัญหาด้านสารสนเทศ
6. ปัญหาจากลูกค้า
การใช้บาร์โค้ด (Bar code) บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์ โดยจะประกอบไปด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งบาร์เหล่านี้ จะเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner บาร์โค้ดจึงทําหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้า อาทิ หมายเลขของสินค้า ครั้งที่ทําการผลิต เลขหมายเรียงลําดับกล่องเพื่อการขนส่ง ปริมาณสินค้าที่ผลิต รวมถึงตําแหน่งผู้รับสินค้า เป็นต้น เพื่อให้สามารถควบคุมการหมุนเวียนของสินค้าโดยรวดเร็วขึ้นไม่ว่าจะเป็นการรับ การจัดเก็บและการจ่ายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่ามีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันและที่สําคัญการติดบาร์โค้ดถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกิดการจัดการซัพพลายเชน ลดระยะเวลาและความซํ าซ้อนในการทํางาน
ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เป็นเทคโนโลยีบริหารกระบวนการธุรกิจโดยเฉพาะการเชื่อมโยง SCM โดยเน้นการบูรณาการกระบวนการหลักของธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดําเนินธุรกรรมประจําวัน และยังสนับสนุนกระบวนการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)
ระบบ CRM (Customer Relationship Management) เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่องค์กรนํามาใช้เพื่อบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้ากับองค์กรตลอดวงจรชีวิตการเป็นลูกค้า ได้แก่ การตลาด การขาย การให้บริการ และการสนับสนุน โดยใช้ทรัพยากรด้านสารสนเทศ กระบวนการ เทคโนโลยี และบุคลากร โดยเน้นการสร้างประสานสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ demain chain management ผ่านการจัดโปรแกรมเพื่อจูงใจลูกค้า เช่น การสะสมคะแนน การให้บริการตอบคําถาม (call center) การให้สิทธิประโยชน์ หรือส่วนลดต่าง ๆ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น